เมื่อคุณซื้อเครื่องปั่นไฟมาใช้งาน ไม่ว่าจะในรูปแบบของบ้านเรือนหรือการพาณิชย์ เรื่องสำคัญที่ควรรู้คือมาตรฐานด้านการดูแลเครื่องปั่นไฟที่จำเป็นจะต้องมีในทุกสถานที่ เพื่อทำให้เกิดการใช้งานอย่างปลอดภัย ไม่สร้างอันตรายใด ๆ ให้กับผู้ที่อยู่ใกล้เคียงและทำให้เครื่องปั่นไฟใช้งานได้ยาวนาน ไม่เสียหายเร็ว จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเพื่อค่าซ่อมแซมหรือการเปลี่ยนใหม่บ่อยครั้ง ซึ่งการดูแลนั้นจะต้องทำประจำและต่อเนื่อง เพื่อทำให้เกิดมาตรฐานที่ดีที่สุดของการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
แนะนำการดูแลเครื่องปั่นไฟที่ถูกต้องและตรงตามมาตรฐาน
สำหรับผู้ที่มีการซื้อเครื่องปั่นไฟมาใช้งาน โดยเฉพาะในกลุ่มของโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ควรมีวิธีการดูแลเครื่องปั่นไฟอย่างถูกต้องและตรงตามมาตรฐาน เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยต่อการทำงานในทุก ๆ วัน ที่สำคัญที่สุดคือ การดูแลรักษาและตรวจสอบเครื่องปั่นไฟให้ตรงตามมาตรฐาน NFPA10 หรือ Standard for Emergency and Power Systems ที่มีการระบุให้ทุกเครื่องยนต์ภายในสถานที่ทำงาน จะต้องมีสภาพสมบูรณ์ ใช้งานแล้วต้องไม่เกิดอันตรายและพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอด เพื่อทำให้ถูกต้องตามมาตรฐาน พร้อมการปฏิบัติตามคำแนะนำของทางบริษัทผู้ผลิตอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งวิธีการดูแลที่ถูกต้องตามมาตรฐานนี้ คือ
1.ดูแลระบบเชื้อเพลิง
การดูแลด้านพลังงานหรือเชื้อเพลิงของเครื่องปั่นไฟ จะถูกเรียกระบบ Fuel System โดยจะมีการตรวจสอบในระดับน้ำมันของถังสำรอง ที่จะต้องมีการตรวจวัดทุกเดือนและจะต้องมีการตรวจสอบน้ำมันประจำเครื่องจากสายตาทุกเดือน มีการทดสอบลูกลอยของน้ำมันประจำเครื่องอีกทุก 3 เดือน พร้อมการตรวจระบบขนส่งและตัวสูบน้ำมันเชื้อเพลิง การทำงานของวาล์ว การตรวจไส้กรอง การตรวจน้ำในระดับน้ำมัน ท่อและข้อต่อต่าง ๆ รวมไปถึงการทดสอบการอุดตันของท่อน้ำมัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำมันล้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะต้องตรวจและทดสอบทุกปี
2.ดูแลระบบระบายความร้อน
ส่วนของระบบระบายความร้อน เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่จะต้องมีการตรวจสอบ ซึ่งถ้าต้องการให้ตรงตามมาตรฐาน จะต้องมีการตรวจวัดระดับของเหลว เพื่อการระบายความร้อนทุกสัปดาห์ มีการตรวจระดับของเหลวในส่วน Heat exchanger ทุกสัปดาห์เช่นกัน และจะต้องตรวจปริมาณของอากาศที่มีการไหลผ่านรังผึ้ง เพื่อการระบายความร้อน การทำความสะอาดในส่วนของรังผึ้ง การตรวจสอบสายพานและพัดลมระบายความร้อน รวมไปถึงสายพานไดชาร์จที่จะต้องมีการตรวจกับทำความสะอาดทุก 3 เดือนถึง 1 ปี ทำการตรวจสอบเครื่องสูบน้ำ สภาพของข้อต่อทั้งท่อนบนและท่อนล่าง ตรวจสอบช่วงบริเวณบานเกล็ด ท่อลม และ Gravity Shutter ที่จะต้องมีการดูแลและทำความสะอาดทุกปี
3.ตรวจดูระบบไอเสีย
การตรวจสอบระบบของท่อไอเสีย จะต้องดูว่าที่บริเวณท่อก๊าซมีการรั่วไหลหรือไม่ จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจทุกเดือนและดูการระบายน้ำภายในของระบบไอเสีย ตรวจสอบบริเวณฉนวนหุ้มท่อ ระบบยึดท่อไอเสีย ท่ออ่อนของท่อไอเสียและการตรวจ Excessive Backpressure เพื่อการทำความสะอาด โดยการตรวจสอบจะเริ่มต้นตั้งแต่รายเดือน, ราย 3 เดือน และรายปี
4.ตรวจสอบระบบแบตเตอรี่
การตรวจสอบที่ระบบแบตเตอรี่ จะต้องดูระดับของอิเล็กโทรไลต์ทุกเดือน เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยและมีการทำความสะอาดที่บริเวณของขั้วแบตเตอรี่ พร้อมการขันให้แน่น ซึ่งจะต้องตรวจสอบทุก 3 เดือน มีการวัดความถ่วงจำเพาะ การตรวจสอบความอันตรายที่อาจช็อตของประจุแบตเตอรี่และตรวจบริเวณชุด Charger ทุกเดือน เพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหาการช็อตและอาจพาเครื่องเสียหายได้
5.ดูแลระบบไฟฟ้า
การดูแลระบบไฟฟ้าจะต้องดูแลแบบโดยรวมและตรวจสอบสภาพทั่วไป พร้อมการขันที่บริเวณขั้วของสายคอนโทรลให้มีความแน่นและตรวจสอบรอยถลอก รอยของสายไฟ อุปกรณ์ป้องกัน และการส่งสัญญาณเตือน ยังคงทำงานได้ดีอยู่หรือไม่ พร้อมการตรวจสอบที่ตู้ควบคุมไฟฟ้า เบรกเกอร์ฟิวส์ชุด Main Contacts ดูการตั้งค่า Voltage Sensing ของทุกอุปกรณ์และตรวจสอบว่ามีฉนวนหุ้มไฟฟ้าส่วนใดฉีกขาดหรือไม่ พร้อมให้การทดสอบเริ่มต้นตั้งแต่รายเดือน, ราย 6 เดือน และราย 3 ปี
เรื่องเหล่านี้ถือเป็นมาตรฐานสำคัญของการดูแลและรักษาเครื่องปั่นไฟ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมการต้องดูแลในเรื่องของเครื่องต้นกำลังหรือระบบขับเคลื่อนของเครื่องปั่นไฟ การดูแลชุด Generator และการตรวจสอบเป็นประจำทั้งแบบรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือนอย่างครบถ้วน ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกระบุไว้ภายในคู่มือของการใช้งานตัวเครื่องปั่นไฟในแต่ละรุ่นและแต่ละยี่ห้อ เมื่อนำมาใช้แล้วจึงควรตรวจสอบให้ดี เพื่อทำให้การใช้งานมีความสมบูรณ์แบบที่สุด