การกำหนดขนาดของเครื่องปั่นไฟ

พ.ค. 4, 2022 | ขนาดของเครื่องปั่นไฟ

การกำหนดขนาดของเครื่องปั่นไฟ เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ควรทำอย่างไร

เมื่อคุณต้องการใช้งานเครื่องปั่นไฟภายในบ้านเรือนหรือธุรกิจของคุณ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ การกำหนดขนาดของเครื่องปั่นไฟ เพื่อทำให้เกิดการใช้งานที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งการซื้อเครื่องปั่นไฟนั้น นอกเหนือจากเรื่องของยี่ห้อเครื่องและคุณสมบัติต่าง ๆ แล้ว อีกเรื่องสำคัญที่คุณห้ามมองข้ามเด็ดขาด คือ การกำหนดเรื่องของขนาด เพราะถ้าได้มาไม่เหมาะต่อกำลังไฟและการใช้งาน ย่อมก่อให้เกิดปัญหาได้หลายด้านเลยทีเดียว

การกำหนดขนาดเครื่องปั่นไฟ

แนะนำวิธีการกำหนดขนาดเครื่องปั่นไฟ ให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม

ถ้าคุณสนใจที่จะเลือกซื้อเครื่องปั่นไฟ แต่มีความกังวลว่าการซื้อมาใช้อาจจะไม่เหมาะสม หรือมีความรู้ไม่มากพอในด้านการซื้อเครื่องปั่นไฟมาใช้งาน ขอแนะนำวิธีการกำหนดขนาดของเครื่องปั่นไฟ เพื่อให้เกิดการใช้งานได้อย่างเหมาะสมที่สุดคือ

1.กำหนดจากค่าไฟโดยรวม

การกำหนดค่าไฟโดยรวม คือ การพิจารณาการใช้ไฟภายในบ้านเรือนหรือภายในธุรกิจของคุณแบบครบทุกด้าน เพื่อทำให้มองเห็นการใช้งานเครื่องปั่นไฟที่มีกำลังเหมาะสมได้มากที่สุด ซึ่งการใช้เครื่องปั่นไฟในขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง จะเหมาะสำหรับใช้ภายในครัวเรือน และเหมาะต่อการใช้เป็นเพียงแค่แหล่งพลังงานสำรองในระยะเวลาประมาณ 3-5 ชั่วโมงหรือใช้ในกลุ่มงานเชื่อมโลหะเป็นบางเวลา โดยขนาดเล็กจะใช้พลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 1-20 KVA และขนาดกลางจะต้องใช้พลังงาน 20-50 KVA

ส่วนการใช้เครื่องขนาดใหญ่จะเป็นเครื่องสำหรับอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ พร้อมการใช้ได้ทั้งโรงงาน, โรงแรม, ห้างสรรพสินค้า และพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยจะมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 50-100 KVA ขึ้นไป คุณจึงจำเป็นต้องคิดค่าPrime Rating หรือที่ถูกเรียกว่าค่าของพลังงานไฟฟ้าโดยรวม และค่า Standby Rating หรือค่าพลังงานสูงสุด  ซึ่งค่านี้จะเป็นการคำนวณในแต่ละวันว่าต้องใช้เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่ใช้เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า รวมไปถึงเครื่องจักรต่าง ๆ เท่าไหร่ ใช้เวลากี่ชั่วโมง แล้วจากนั้นนำมารวมเป็นค่าไฟฟ้าที่ใช้ในแต่ละวัน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยทำให้คุณมองเห็นเครื่องปั่นไฟในขนาดที่เหมาะสมต่อการใช้งานมากขึ้น

 

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

2.เลือกเครื่องยนต์

การเลือกตามเครื่องยนต์มีความสำคัญเช่นกัน เพราะถือเป็นจุดสำคัญของการทำงาน ซึ่งเครื่องปั่นไฟจะถือเป็นตัวช่วยสำรองไฟฟ้าใช้ในยามฉุกเฉิน ดังนั้นการเลือกเครื่องยนต์จึงต้องมีคุณภาพ ให้การเผาไหม้ที่ดีและมีการระบายความร้อนได้อย่างเหมาะสม ควรเป็นเครื่องจากยี่ห้อที่คุณไว้วางใจได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบภายในสึกหรอเร็ว และชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่องยนต์ควรจะต้องเป็นแบบมีคุณภาพและมีงานประกอบที่ได้มาตรฐาน โดยจะมีทั้งแบบเครื่องยนต์ดีเซล, เครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ Inverter ที่จะให้การทำงานแตกต่างกันออกไป แต่สำหรับการใช้งานภายในครัวเรือนจะเน้นเป็นเครื่องยนต์แบบเบนซินและ Inverter แต่ถ้าเป็นโรงงานอุตสาหกรรม, ห้างสรรพสินค้า หรือพื้นที่ขนาดใหญ่ที่จะต้องใช้กำลังไฟสูง จะเป็นเครื่องปั่นไฟแบบดีเซล ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะทำให้คุณสามารถเลือกใช้เครื่องปั่นไฟได้เหมาะสมต่องานที่สุด

3.การหากำลังไฟ

เรื่องของการค้นหากำลังไฟ จะเริ่มต้นจากการรวบรวมกำลังไฟที่คุณจะต้องใช้ในแต่ละวันตามแบบข้อที่ 2 แล้วนำมาคำนวณจากสูตร เพื่อหาการโหลดตัวต้านทานกับการโหลดตัวปฏิกิริยา ซึ่งจะถูกแปลงค่าจากแอมแปร์เป็นวัตต์ ใช้เป็นสูตร วัตต์ = แอมแปร์ x โวลต์ และ วัตต์ = (แอมแปร์ x โวลต์) x Load Factor จะได้ออกมาเป็นกำลังที่ชัดเจนในด้านการซื้อเครื่องปั่นไฟที่มีตัวโหลดเหมาะสมต่อกำลังไฟฟ้าในบ้านเรือนหรือสถานที่ทำงานของคุณ

4.การจดบันทึกเรื่องพลังงาน

เมื่อคุณรู้ถึงกำลังไฟเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรื่องต่อมาคือการจดบันทึกเรื่องกำลังไฟ โดยเริ่มต้นและจดบันทึกเกี่ยวกับการใช้พลังงาน รวมไปถึงการคำนวณพลังงานทั้งหมด ทั้งในรูปแบบของ KVA และ KW พร้อมทำการจดบันทึกเกี่ยวกับเครื่องปั่นไฟในยี่ห้อและรุ่นที่คุณสนใจเป็นพิเศษ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสำคัญในการช่วยตัดสินใจที่ง่ายมากขึ้น

ถ้าคุณกำลังสนใจจะซื้อเครื่องปั่นไฟ คุณควรกำหนดขนาดและ รูปแบบของเครื่องปั่นไฟตามปัจจัยทั้งหมดที่ได้กล่าวถึง เพื่อนำมาเปรียบเทียบดูว่ายี่ห้อไหนและรุ่นใด รวมไปถึงขนาดกำลังไฟเท่าไหร่ ที่จะเหมาะสมต่อการใช้งานในแบบของคุณมากที่สุด เพื่อเป็นการประหยัดทั้งพลังงานและไม่ทำให้เสียหายเร็วจนเกินไป

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า